หน่วยที่ 1 ภูมิปัญญาไทย

วัฒนธรรม
วัฒนธรรม หมายถึง วิถีชีวิตหรือแบบแผนของพฤติกรรมในสังคม ซึ่งสมาชิกในสังคมนั้นได้ปฏิบัติถ่ายทอดสืบกันมาตามแนวความคิดสร้างสรรค์ในเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อ ความรู้สึก และสิ่งประดิษฐ์ เพื่อความเจริญงอกงามหรืออาจกล่าวได้ว่า วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือผลิตขึ้นเพื่อความเจริญงอกงามในวิถีชีวิตของมนุษย์ในส่วนรวม ที่ถ่ายทอดกันได้ เลียนแบบกันได้ เอาอย่างกันได้ วัฒนธรรมมิใช่สิ่งที่ดีงามสําหรับคนทั่วไปแต่ต้องเป็นสิ่งที่คนในสังคมนั้นๆ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม

          ความสําคัญของวัฒนธรรม
1. เป็นสิ่งกำหนดรูปแบบของสถาบัน ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันในแต่ละสังคม
2. เป็นสิ่งที่กําหนดพฤติกรรมของมนุษย์
3. เป็นเครื่องควบคุมให้สังคมเป็นระเบียบได้                                             
ลักษณะของวัฒนธรรม
1. วัฒนธรรมเป็นพฤติกรรมที่ต้องเรียนรู้
2. วัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิต วัฒนธรรมเป็นสิ่งกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย
3. วัฒนธรรมเป็นมรดกทางสังคม
4. วัฒนธรรมเป็นลักษณะที่เหนืออินทรีย์) คือ ไม่ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของสิ่งของหรือการกระทำนั้น ๆ

ประเภทของวัฒนธรรม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
• วัฒนธรรมทางวัตถุ คือ เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่มนุษย์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อความสุขทางกาย ได้แก่ ยานพาหนะ ที่อยู่อาศัย ตลอดจนเครื่องป้องกันตัวให้รอดพ้นจากอันตราย
 • วัฒนธรรมทางจิตใจ เป็นเรื่องเกี่ยวกับเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์ เพื่อให้เกิดปัญญาและมีจิตใจที่งดงาม ได้แก่ ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม คติธรรม ตลอดจนศิลปะ วรรณคดี และระเบียบแบบแผนของขนบธรรมเนียมประเพณี

 การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรม
     แนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม ไม่ว่าในทางยอมรับหรือต่อต้าน ย่อมขึ้นอยู่กับรากฐานของวัฒนธรรมในสังคมนั้น

อิทธิพลในการเปลี่ยนแปลงและการต่อต้าน

1. แรงผลักดันในที่ทำงาน
2. การติดต่อกันระหว่างกลุ่มสังคม

3. การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

   การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมอาจเกิดมาจากสิ่งแวดล้อม การค้นพบ (และอิทธิพลภายในอื่น ๆ) และการติดต่อสัมพันธ์กับวัฒนธรรมอื่น การแพร่กระจายนี้ ทำให้เกิดรูปแบบบางอย่างที่เคลื่อนตัวจากวัฒนธรรมหนึ่ง         
ปัจจัยที่ทำให้สังคมมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
1. ความคิดเห็นและการมองโลกต่างกัน เช่น ความเชื่อ ศาสนา การปกครอง เป็นต้น
2. สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ต่างกัน ทำให้พบปัญหาแตกต่างกัน

มนุษย์กับวัฒนธรรม
ความสำคัญของวัฒนธรรม ที่มีต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
1. ความต้องการทางร่างกาย ได้แก่ ความต้องการทางด้านปัจจัย 4

2. ความต้องการทางจิตใจ ได้แก่ ความรัก ความอบอุ่น ความมั่นคงทางจิตใจ

3. ความต้องการทางสังคม ได้แก่ การที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่นเป็นกลุ่ม เป็นสังคม

               การเกิดวัฒนธรรม
   ระยะแรกมนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ มีลักษณะคล้ายครอบครัวขนาดใหญ่ เมื่อคนกลุ่มเล็กอาศัยอยู่ด้วยกัน ก็สามารถเข้าใจกัน และประพฤติปฏิบัติต่อกันได้ โดยไม่มีความขัดแย้งเท่าใดนัก
   วัฒนธรรมเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันในสังคมเดียวกันทำความตกลงกันว่าจะยึดระบบไหนดี พฤติกรรมใดบ้างที่จะถือเป็นพฤติกรรมที่ควรปฏิบัติและมีความหมายอย่างไร แนวความคิดใดจึงเหมาะสม วัฒนธรรมก็คือระบบสัญลักษณ์ในสังคมมนุษย์ที่มนุษย์สร้างขึ้น

         การถ่ายทอดและการรับวัฒนธรรม
     เมื่อวัฒนธรรมคือระบบสัญลักษณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นและมิใช่ระบบที่เกิดขึ้นโดยสัญชาตญาณก็ย่อมจะหมายความว่า วัฒนธรรมคือสิ่งที่มนุษย์จะต้องเรียนรู้ และจะต้องมีการถ่ายทอดวัฒนธรรม การถ่ายทอดวัฒนธรรมที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือ การที่พ่อแม่สอนลูกว่าอะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ ในสังคมไทยพ่อแม่สอนลูกให้ไหว้ผู้ที่มีอาวุโสกว่า ผู้น้อยไม่ควรยืนค้ำศีรษะผู้ใหญ่

     ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์สังคมและวัฒนธรรม
     สังคมและวัฒนธรรมเป็นส่วนสำคัญของความเป็นมนุษย์ เป็นสองสิ่งที่แยกออกจากกันไม่ได้ และมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างลึกซึ้ง สิ่งที่แยกสังคมหนึ่งว่าแตกต่างจากอีกสังคมหนึ่งก็คือวัฒนธรรม ในขณะเดียวกันวัฒนธรรมก็เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการทางสังคมและจิตใจของมนุษย์ วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ช่วยประสานและผูกมัดไว้ในสังคม        
สังคมกับวัฒนธรรม

วัฒนธรรมกับการพัฒนาสังคม
     สังคมโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกด้าน โดยเฉพาะในยุคข่าวสารไร้พรมแดนที่ถูกกล่าวขานว่าเป็นยุคของคลื่นลูกที่สาม ผลกระทบอย่างหนึ่งของการพัฒนาสังคมตามกระแสโลกคือ วัฒนธรรมของแต่ละประเทศที่รับการเปลี่ยนแปลงในทุกทิศทางนี้จะอ่อนโอนก้าวตามกระแสโลกหรือยังเข้มแข็งคงเอกลักษณ์ประจำชาติของตนไว้ได้

            ปัญหาเกี่ยวกับวัฒนธรรม
     ปัญหาช่องว่างระหว่างวัฒนธรรมทางวัตถุและวัฒนธรรมทางจิตใจ
3.2 ปัญหาค่านิยมที่เปลี่ยนแปลง

3.3 ปัญหาการเหินห่างจากศาสนา

3.4 ปัญหาการขาดระเบียบวินัย

3.5 ปัญหาการรับวัฒนธรรมที่ไม่เหมาะสมจากต่างประเทศ

3.6 ปัญหาการเผยแพร่ลัทธิและคำ สอนที่ไม่เหมาะสม

           วัฒนธรรมไทยในปัจจุบัน
     ในปัจจุบันนับตั้งแต่คนไทยรับเอาอิทธิพลของชาวต่างชาติเข้ามา ซึ่งแสดงให้เห็นได้ชัดในเรื่องของการแต่งกาย,การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ซึ่งในสมัยก่อนพ่อแม่ของเราจะสอนให้รักนวลสงวนตัว แต่งตัวรัดกุมมิดชิด ไม่เป็นที่ล่อตาล่อใจจากเพศตรงข้าม แต่ในปัจจุบันวัฒนธรรมของเราได้เปลี่ยนไป จากที่เคยแต่งกายสุภาพสมกับเป็นกุลสตรีไทย ก็เหลือเพียงการนุ่งน้อยห่มน้อย เรื่องของการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ซึ่งเยาวชนของไทยในปัจจุบัน ไปเลียนแบบพฤติกรรมของชาวต่างชาติมาเป็นจำนวนมาก เลยมองเรื่องของการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไม่มีความสำคัญอะไร ดังนั้นวัฒนธรรมไทยในอดีตและปัจจุบันมีอิทธิพลของอารยธรรมต่างชาติไม่มากก็น้อย โดยเราได้เลือกสรร สิ่งที่เป็นประโยชน์ และเข้ากับสภาพความเป็นอยู่ของคนไทยเป็นการผสมผสานกับวัฒนธรรม ของเราเองที่มีมาแต่เดิม คือ เรายอมรับเอาวัฒนธรรมที่ดีของชาติอื่นที่เราติดต่อด้วยมาเป็นของเราบ้าง ดัดแปลงบ้าง ให้เข้ากับความเชื่อแบบไทยๆ จนเป็นวัฒนธรรมที่มีลักษณะแบบของเราเอง ที่แตกต่างกับชาติอื่นๆ โดยในแต่ละยุคแต่ละสมัยได้พยายามส่งเสริมและรักษาวัฒนธรรม ที่ดีงามเหล่านี้ตลอดมา

ประเพณี

     ประเพณี เป็นระเบียบแบบแผนที่กำหนดพฤติกรรมในสถานการณ์ต่างๆ ที่คนในสังคมยึดถือปฏิบัติสืบกันมา โดยมากย่อมมีจุดประสงค์และวิธีการปฏิบัติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญต่อสังคม เช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเชื่อ ฯลฯ อันเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมของสังคมเชื้อชาติต่างๆ กลายเป็นประเพณีประจำชาติและถ่ายทอดกันมาโดยลำดับ ประเพณีล้วนได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เข้าสู่สังคม รับเอาแบบปฏิบัติที่หลากหลายเข้ามาผสมผสานในการดำเนินชีวิต ประเพณีจึงเรียกได้ว่าเป็น วิถีแห่งการดำเนินชีวิตของสังคม โดยเฉพาะศาสนาซึ่งมีอิทธิพลต่อประเพณีไทยมากที่สุด

           ความเป็นมา
     ประเพณีมีบ่อเกิดมาจากสภาพสังคม ธรรมชาติ ทัศนคติ เอกลักษณ์ ค่านิยม โดยความเชื่อของคนในสังคมต่อสิ่งที่มีอำนาจเหนือมนุษย์นั้นๆ เมื่อความประพฤตินั้นคนส่วนรวมสังคมยึดถือปฏิบัติเป็นธรรมเนียม หรือเป็นระเบียบแบบแผน และทำจนเป็นพิมพ์เดียวกัน สืบต่อๆกันจนกลายเป็นประเพณีของสังคมนั้นๆ


ประเภทของประเพณี
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. จารีตประเพณี หรือกฎศีลธรรม หมายถึง สิ่งซึ่งสังคมใดสังคมหนึ่งยึดถือและปฏิบัติสืบกันมาอย่างต่อเนื่องและมั่นคง เป็นเรื่องของความผิดถูก มีเรื่องของศีลธรรมเข้ามาร่วมด้วย ดังนั้นสมาชิกในสังคมต้องทำ ผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องถูกตำหนิหรือได้รับการลงโทษจากคนในสังคมนั้น

2. ขนบประเพณี หรือสถาบัน หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่สังคมได้กำหนดไว้แล้วปฏิบัติสืบต่อกันมา ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ทางตรง ได้แก่ ประเพณีที่มีการกำหนดเป็นระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติอย่างชัดแจ้งว่าบุคคลต้องปฏิบัติอย่างไร ทางอ้อม ได้แก่ ประเพณีที่รู้กันโดยทั่วๆไป โดยไม่ได้วางระเบียบไว้แน่นอน แต่ปฏิบัติไปตามคำบอกเล่า หรือตัวอย่างจากที่ผู้ใหญ่หรือบุคคลในสังคมปฏิบัติ

3. ธรรมเนียมประเพณี หมายถึง ประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญที่ทุกคนควรทำ ไม่มีระเบียบแบบแผนเหมือนขนบประเพณี หรือมีความผิดถูกเหมือนจารีตประเพณี เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ทุกคนปฏิบัติกันทั่วไปจนเกิดความเคยชิน และไม่รู้สึกเป็นภาระหน้าที่ เพราะเป็นสิ่งที่มีมานานและใช้กันอย่างแพร่หลาย ส่วนมากเป็นมารยาทในด้านต่างๆ เช่น การแต่งกาย การพูด การรับประทานอาหาร ฯลฯ



ภูมิปัญญาไทย

      ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ความสามารถ ผลงานที่คนไทยได้ค้นคว้า รวบรวม และจัดเป็นความรู้ ถ่ายทอด ปรับปรุง จากคนรุ่นหนึ่งมาสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จนเกิดผลิตผลที่ดี งดงาม มีคุณค่า มีประโยชน์ สามารถนำมาแก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตได้

      ลักษณะของภูมิปัญญาไทย
1. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเป็นทั้งความรู้ ทักษะ ความเชื่อ และพฤติกรรม
2. ภูมิปัญญาไทยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ
3. ภูมิปัญญาไทยเป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิตของคน
4. ภูมิปัญญาไทยเป็นเรื่องของการแก้ปัญหา การจัดการ การปรับตัว และการเรียนรู้ เพื่อความอยู่รอดของบุคคล ชุมชน และสังคม

5. ภูมิปัญญาไทยเป็นพื้นฐานสำคัญในการมองชีวิต เป็นพื้นฐานความรู้ในเรื่องต่างๆ

6. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเฉพาะ หรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง

7. ภูมิปัญญาไทยมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคม

      ภูมิปัญญาไทยสามารถจัดแบ่งได้ 10 สาขา
1. สาขาเกษตรกรรม หมายถึง ความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะ และเทคนิคด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี
2. สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม หมายถึง การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปผลิตผล เพื่อชะลอการนำเข้าตลาด เพื่อแก้ปัญหาด้านการบริโภคอย่างปลอดภัย ประหยัด และเป็นธรรม

3. สาขาการแพทย์แผนไทย หมายถึง ความสามารถในการจัดการป้องกันและรักษาสุขภาพของคนในชุมชน โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพและอนามัยได้

4. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งการอนุรักษ์ การพัฒนา และการใช้ประโยชน์จากคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน

5. สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการด้านการสะสมและบริการกองทุน และธุรกิจในชุมชน ทั้งที่เป็นเงินตราและโภคทรัพย์ เพื่อส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชน

6. สาขาสวัสดิการ หมายถึง ความสามารถในการจัดสวัสดิการในการประกันคุณภาพชีวิตของคน ให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

7. สาขาศิลปกรรม หมายถึง ความสามารถในการผลิตผลงานทางด้านศิลปะสาขาต่างๆ

8. สาขาการจัดการองค์กร หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการดำเนินงานขององค์กรชุมชนต่างๆ ให้สามารถพัฒนา และบริหารองค์กรของตนเองได้ตามบทบาท และหน้าที่ขององค์การ

9. สาขาภาษาและวรรณกรรม หมายถึง ความสามารถผลิตผลงานเกี่ยวกับด้านภาษาทั้งภาษาถิ่น ภาษาโบราณ ภาษาไทยและการใช้ภาษา ตลอดทั้ง ด้านวรรณกรรมทุกประเภท

10. สาขาศาสนาและประเพณี หมายถึง ความสามารถประยุกต์และปรับใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนา ความเชื่อ และประเพณีดั้งเดิมที่มีคุณค่าให้เหมาะสมต่อการประพฤติปฏิบัติ ให้บังเกิดผลดีต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อม

      ลักษณะความสัมพันธ์ของภูมิปัญญาไทย
ภูมิปัญญาไทยสามารถสะท้อนออกมาใน 3 ลักษณะที่สัมพันธ์ใกล้ชิดกัน คือ
1. ความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกันระหว่างคนกับโลก สิ่งแวดล้อม สัตว์ พืช และธรรมชาติ

2. ความสัมพันธ์ของคนกับคนอื่นๆ ที่อยู่ร่วมกันในสังคม หรือในชุมชน

3. ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์สิ่งเหนือธรรมชาติ ตลอดทั้งสิ่งที่ไม่สามารถสัมผัสได้ทั้งหลาย



คลิกเข้าทำข้อสอบได้ที่นี่เลยจ้า