หน่วยที่ 2 เบ้าหลอมวัฒนธรรม

อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออกที่มีต่อสังคมไทย
   การติดต่อกับชาวต่างชาติของคนไทยในยุคสมัยต่าง ๆ มีผลต่อสังคมไทยหลายด้าน วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย โดยวัฒนธรรมบางอย่างได้ถูกปรับใช้ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตและประเพณีดั้งเดิมของคนไทย ขณะที่วัฒนธรรมบางอย่างรับมาใช้โดยตรง
วัฒนธรรมตะวันออกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
   อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกต่อสังคมไทยมีมาตั้งแต่ก่อนการตั้งอาณาจักรของคนไทย ซึ่งมีทั้งวัฒนธรรมที่รับจากอินเดีย จีน เปอร์เซีย เขมร มอญ พม่า โดยผ่านการติดต่อค้าขาย การรับราชการของชาวต่างชาติ การทูต และการทำสงคราม
ตัวอย่างอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกที่มีต่อสังคมไทย
1. ด้านอักษรศาสตร์ เช่น ภาษาไทยที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยสุโขทัยได้รับอิทธิพลจากภาษาขอม รับภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต นอกจากนี้ ในปัจจุบันภาษาจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ก็ได้มีอิทธิพลต่อสังคมไทยมากขึ้น
2. ด้านกฎหมาย มีการรับรากฐานกฎหมายอินเดีย ได้แก่ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์
3. ด้านศาสนา พระพุทธศาสนาเผยแผ่อยู่ในผืนแผ่นดินไทยมาเป็นเวลายาวนานแล้ว นอกจากนี้ คนไทยยังได้รับอิทธิพลในการนับถือศาสนาอิสลามที่พ่อค้าชาวมุสลิมนำมาเผยแผ่ รวมทั้งคริสต์ศาสนาที่คณะมิชชันนารีนำเข้ามาเผยแผ่ในเมืองไทยนับตั้งแต่สมัยอยุธยา
4. ด้านวรรณกรรม ในสมัยอยุธยาได้รับวรรณกรรมเรื่องรามเกรียรติ์ มาจากเรื่องรามายณะของอินเดีย เรื่องอิเหนาจากชวา ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการแปลวรรณกรรมจีน เช่น สามก๊ก
5. ด้านศิลปวิทยาการ ชาวสุโขทัยได้รับวิธีการทำเครื่องสังคโลกมาจากช่างชาวจีน รูปแบบสถาปัตยกรรมเนื่องในพระพุทธศาสนาจากอินเดีย ศรีลังกา
6. ด้านวิถีการดำเนินชีวิต คนไทยสมัยก่อนนิยมกินหมากพลู รับวิธีการปรุงอาหารที่ใส่เครื่องแกง เครื่องเทศจากอินเดีย รับวิธีการปรุงอาหารแบบผัด การใช้กระทะ การใช้น้ำมันจากจีน ในด้านการแต่งกาย คนไทยสมัยก่อนนุ่งโจงกระเบนแบบชาวอินเดีย เป็นต้น
          วัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
          ไทยได้รับวัฒนธรรมตะวันตกหลายด้านมาตั้งแต่สมัยอยุธยา  ในระยะแรกเป็นความก้าวหน้าด้านการทหาร  สถาปัตยกรรม  ศิลปวิทยาการ  ในสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ เป็นต้นมา  คนไทยรับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น  ทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีของคนไทยมาจนถึงปัจจุบัน
              ตัวอย่างวัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยที่สำคัญมีดังนี้
1.  ด้านการทหาร  เป็นวัฒนธรรมตะวันตกแรก ๆ ที่คนไทยรับมาตั้งแต่อยุธยา  โดยซื้ออาวุธปืนมาใช้  มีการสร้างป้อมปราการตามแบบตะวันตก   ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการจ้างชาวอังกฤษเข้ามารับราชการเพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการทหาร 
2.  ด้านการศึกษา  สมัยรัชกาลที่ มีชนชั้นนำจำนวนหนึ่ง  เช่น  พระอนุชาและขุนนางได้เรียนภาษาอังกฤษและวิทยาการตะวันตก  ในสมัยรัชกาลที่ ทรงจ้างครูต่างชาติมาสอนภาษาอังกฤษและความรู้แบบตะวันตกในราชสำนัก  ในสมัยรัชกาลที่ มีการตั้งโรงเรียนแผนใหม่  ตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นมาจัดการศึกษาแบบใหม่  ทรงส่งพระราชโอรสและนักเรียนไทยไปศึกษาที่ประเทศต่าง ๆ  ในสมัยรัชกาลที่ มีพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับและการตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. ด้านวิทยาการ ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ความรู้ทางดาราศาสตร์จนสามารถคำนวณการเกิดสุริยุปราคาได้อย่างถูกต้อง ความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่ เริ่มในสมัยรัชกาลที่ 3 ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการจัดตั้งโรงพยาบาล โรงเรียน

4. ด้านแนวคิดแบบตะวันตก การศึกษาแบบตะวันตกทำให้แนวคิดทางการปกครอง เช่น ประชาธิปไตย คอมมิวนิสต์ สาธารณรัฐแพร่เข้ามาในไทย และมีความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
5. ด้านวิถีการดำเนินชีวิต การรับวัฒนธรรมตะวันตกและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาใช้ ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยแบบเดิมเปลี่ยนแปลงไป เช่น การใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหารแทนการใช้มือ การนั่งเก้าอี้แทนการนั่งพื้น
สาเหตุของการหลั่งไหลเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตก
1. ความเจริญด้านการคมนาคมขนส่ง
2. อิทธิพลจากสื่อมวลชนต่าง ๆ
3. การเผยแพร่วัฒนธรรมโดยตรง
        อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติในสังคมไทย มีผลต่อ
1. ระบบการศึกษา
2. ระบบการเมือง
3. ระบบเศรษฐกิจ
4. ระบบสังคมและวัฒนธรรม
อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติที่มีต่อสังคมไทย
           วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไม่คงที่ ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการขนส่งคมนาคม ทำให้การเผยแพร่วัฒนธรรมกระทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้นกระบวนการนี้เรียกว่า การเผยแพร่ อิทธิพลของวัฒนธรรม ตะวันตกก็ยังคงต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยสาเหตุต่อไปนี้
1. ความเจริญทางด้านการคมนาคมขนส่ง

2. อิทธิพลจากสื่อมวลชนต่าง ๆ เช่น  ภาพยนตร์ โทรทัศน์ หนังสือ และสิ่งตีพิมพ์อื่น ๆ
3. การเผยแพร่วัฒนธรรมโดยตรง คือ ประเทศต่าง ๆ ส่งคนเข้ามาเผยแพร่ หรือจากการออกไปศึกษาเล่าเรียน  เมื่อกลับมาแล้วก็นำวัฒนธรรมนั้นมาเผยแพร่

อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติในสังคม แยกเป็นด้านต่าง ๆ นี้
1. ทางการศึกษา
- ภาษาตะวันตก เริ่มเข้าสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ ร้อยเอกเจมส์ โลว์ ชาวอังกฤษคิดตัวพิมพ์ภาษาไทยได้สำเร็จ
- รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการปฎิรูปการศึกษาและสังคม มีการตั้งกระทรวงธรรมการ เริ่มมีการจัดการศึกษาแบบตะวันตกตั้งแต่นั้นมา

2. ทางการเมือง
- สมัยสุโขทัย  การปกครองเป็นแบบพ่อปกครองลูก
- สมัยกรุงศรีอยุธยา รับอิทธิพลจากขอมและอินเดีย กษัตริย์ เป็นสมมติเทพ
- สมัยกรุงรัตนโกสินทร์  ในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีสภาที่ปรึกษา นับเป็นการเริ่มเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย

3. ทางเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบเสรีนิยม หรือทุนนิยม ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก
4. ทางสังคมและวัฒนธรรม อิทธิพลจากต่างชาติทำให้วิถีชีวิตคนไทยเปลี่ยนแปลงไป ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เห็นอกเห็นใจมีความอบอุ่นน้อยลง มีการชิงดีชิงเด่น ความสัมพันธ์เปลี่ยนเป็นแบบทุติยภูมิ


            วัฒนธรรม  เป็นลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม  ความเป็นระเบียบเรียบร้อย  ความกลมเกลียว  ความเจริญก้าวหน้า  และศีลธรรมอันดีของมนุษย์  รวมทั้งด้านความคิด  ความเชื่อ  และความรู้  ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อความเจริญงอกงามในวิถีชีวิต  โดยมีการถ่ายทอดเลียนแบบกันได้  วัฒนธรรมจึงเป็นผลผลิตของสังคมมนุษย์ที่โดดเด่นเห็นชัด  ซึ่งเกิดขึ้นได้ก็เพราะมีปัจจัยต่าง ๆ ส่งเสริมให้เกิดการสร้างสรรค์


           วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์ของคนไทย  โดยมีพื้นฐานจากปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ และอิทธิพลจากภายนอก  วัฒนธรรมนอกบางอย่างที่ไทยรับมานั้นได้ถูกนำมาดัดแปลงให้เข้ากับสภาพสังคมไทย  จนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของไทย 
               ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยที่สำคัญมีดังนี้
1) ปัจจัยทางภูมิศาสตร์
2) ปัจจัยทางสังคม สามารถแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้       
2.1) ลักษณะร่วมทางสังคมและวัฒนธรรม ได้แก่ การที่สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ทำให้คนในสังคมมีวิถีชีวิตความเชื่อบางอย่างเหมือนกัน        
2.2) ลักษณะแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม สภาพภูมิศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติที่ต่างกัน รวมถึงความเคยชินและการปฏิบัติที่สืบทอดต่อ ๆ กัน
สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการสร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย
          นอกจากปัจจัยพื้นฐานที่มีผลต่อการสร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญา  ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยทางภูมิศาสตร์และปัจจัยทางสังคมแล้ว  สภาพแวดล้อมมีผลต่อการสร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยด้วยเช่นกัน  ที่สำคัญมีดังนี้
1. ด้านภูมิศาสตร์ ประเทศไทยมีสภาพภูมิศาสตร์ที่หลากหลายแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ทำให้ประชากรต่างประกอบอาชีพให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศที่ตนอยู่
2. ด้านสังคม การอาศัยอยู่รวมกันทำให้แต่ละสังคมกำหนดบรรทัดฐานทางสังคมและขนบธรรมเนียมประเพณีของขุมชนสำหรับเป็นแนวทางในการปฏิบัติของสมาชิกในสังคมรวมทั้งสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ขึ้น และถ่ายทอดปรับปรุงจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง
3. การรับวัฒนธรรมจากภายนอก การติดต่อกับชุมชนภายนอกทำให้เกิดการรับและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาจากภายนอก

คลิกเข้าทำข้อสอบได้ที่นี่